การเรียนรู้แบบร่วมมือ
(Cooperative Learning)
การเรียนรู้แบบร่วมมือหรือการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมใจ
(Cooperative Learning) เป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมการเรียนแบบมีส่วนร่วมของผู้เรียน
โดยมีหลักการสำคัญคือ การให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่มโดยยึดแนวคิดที่ว่า “ความสำเร็จของสมาชิกทุกคนจะรวมเป็นความสำเร็จของกลุ่ม” (สุคนธ์ และคณะ, 2545) สืบเนื่องจากหลักการนี้ Roger
(1997) ชี้ให้เห็นปัจจัยสำคัญประการ ได้แก่
Positive interdependence หรือการพึ่งพากัน
และกันในทางบวก และ Individual accountability คือ
การมีส่วนในความรับผิดชอบในหน้าที่หนึ่งของกลุ่มการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้
(Constructivism) ถือว่าผู้เรียนนำเอาประสบการณ์เดิมไม่ว่าจะเป็นความรู้
ความรู้สึกหรือทักษะเข้ามาในชั้นเรียน
และจะพัฒนาความรู้นั้นต่อไปขณะมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานครูและสภาพแวดล้อม
ดังนั้น ครูเป็นเพียงผู้ตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนแต่ละคน
และเป็นผู้ช่วยให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงแนวคิด
การเรียนรู้แบบร่วมมือมีความสำคัญในการช่วยให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในระหว่างกลุ่มผู้เรียนซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนมีแนวคิดที่ชัดเจนยิ่งขึ้นโดยผ่านการพิจารณาแนวคิดของเพื่อนๆ
ผ่านการสะท้อนความคิดเห็น และให้เหตุผลกับแนวคิดของตนเอง (วรรณทิพา, 2541) การเรียนรู้แบบร่วมมือไม่ใช่เป็นการจัดให้ผู้เรียนนั่งทำงานเป็นกลุ่ม
แบบที่เรียกกันว่า “Group work” แต่ต้องอาศัยกระบวนการของกลุ่ม
ซึ่งผู้เรียนต้องเข้าใจและตระหนักในหน้าที่และความสำคัญของตนเองที่มีผลต่อความสำเร็จของกลุ่ม
(Gillies, 2004) งานหรือปัญหาที่ให้นักเรียนร่วมมือกันทำ
ควรมีลักษณะที่กระตุ้นให้สมาชิกได้มีโอกาสสื่อสาร
อภิปรายเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันและสร้างเป็นองค์ความรู้ของกลุ่ม
ซึ่งจะนำมาซึความสำเร็จร่วมกัน
เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ
การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือมีเทคนิคต่าง ๆ มากมาย สุคนธ์และคณะ
(2545) ได้กล่าวถึงเทคนิคต่างๆดังต่อไปนี้
เทคนิคการต่อเรื่องราว (Jigsaw) เทคนิคการจัดทีมแข่งขัน (TGT:
Team Games Tournament) เทคนิคแบ่งปันความสำเร็จ (STAD:
Student Teams Achievement Division) เทคนิคกลุ่มสืบค้น (GI:
GroupInvestigation) เทคนิคคู่คิด (Think-Pair-Share) เทคนิคคู่คิดสี่สหาย (Think-Pair-Square) เทคนิคคู่ตรวจสอบ(Pairs
Check) เทคนิคการสัมภาษณ์ 3 ขั้นตอน (Three-Step
Interview) เทคนิคร่วมกันคิด (Numbered Heads Together)
เทคนิคเล่าเรื่องรอบวง (Roundrobin) เทคนิคโต๊ะกลม
(Roundtable) เทคนิคการเรียนร่วมกัน (LearningTogether)
และเทคนิคช่วยกันคิดช่วยกันเรียน (TAI: Team Assisted
Individualization) ในที่นี้ขอกล่าวถึงเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ
ที่เรียกว่า เทคนิคการต่อเรื่องราว (Jigsaw)
รูปแบบการเรียนรู้
(Learning Style)
สรัญญา รุจิเรขเรืองรอง*รูปแบบการเรียนรู้
เป็นลักษณะเฉพาะของคนแต่ละคน
ซึ่งบูรณาการ 1 ลักษณะทางกายภาพ
อารมณ์และความรู้สึกนึกคิดปรากฏให้เห็นว่า คนแต่ละคน
เรียนรู้ได้ดีที่สุดอย่างไรเนื่องจากคนทุกคนมีจุดเด่น จุดด้อย ต่างกัน
และมีความชอบที่แตกต่างกัน บางคนเรียนได้ดีด้วยการฟัง
บางคนเรียนได้ดีด้วยการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ (จด, บันทึก)
บางคนชอบลงมือปฏิบัติ หลายคนเรียนรู้ได้ดีเมื่อเข้าอยู่เป็นกลุ่ม
บางคนชอบทำงานคนเดียว… จึงไม่มีวิธีใดดีที่สุดสำหรับคนทุกคนนอกจากนี้
สิ่งเร้าต่าง ๆ อันได้แก่ สภาพแวดล้อม อารมณ์ สภาพทางสังคม
เศรษฐกิจสถานะของครอบครัว ลักษณะทางกายภาพ และสภาวะทางจิตใจ
ยังมีผลต่อรูปแบบการเรียนรู้ของบุคคลแต่ละคนการศึกษาเรื่องรูปแบบการเรียนรู้
เป็นการศึกษาพฤติกรรมที่สังเกตได้ คล้ายบุคลิกภาพมากกว่าศึกษาพฤติกรรมตามพื้นฐานทางจิตวิทยา
จำไว้ว่า รูปแบบการเรียนรู้เป็นพฤติกรรมที่สามารถปรับเปลี่ยนได
ทฤษฎีรูปแบบการเรียนรู้
จำแนกตามพฤติกรรมที่แสดงในชั้นเรียนทฤษฎีรูปแบบการเรียนรู้ Learning Style
จำแนกตามแบบการคิด(สภาพความคิดของบุคคล
ที่มีผลมาจากสภาพแวดล้อมลักษณะทางกายภาพ ฯลฯ)รูปแบบการเรียนรู้
จำแนกตามพฤติกรรมที่แสดงในชั้นเรียน เช่น :-
ทฤษฎีของ Grasha & Reichman
1. แบบแข่งขัน - ชอบเอาชนะเพื่อน
2. แบบอิสระ - เชื่อมั่น
3. แบบหลีกเลี่ยง - ไม่สนใจ
* อาจารย์ประจำ คณะบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีมหานคร
1 รวมหน่วยต่าง ๆ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
4. แบบพึ่งพา - อาจารย์และเพื่อน
เป็นแหล่งความรู้
5. แบบร่วมมือ -
ร่วมมือแสดงความเห็น ทั้งในและนอกชั้นเรียน
6. แบบมีส่วนร่วม -
จะพยายามมีส่วนร่วมให้มากที่สุด ในกิจกรรมการเรียน
(ในชั้นเรียน)แต่จะไม่สนใจกิจกรรมนอกหลักสูตรเลย
รูปแบบการเรียนรู้ จำแนกตามแบบการคิด เช่น
:-
ทฤษฎีของ วิทคิน และคณะ
1. แบบพึ่งพาสภาพแวดล้อม (Field
dependent)
2. แบบไม่พึ่งพาสภาพแวดล้อม (Field
independent)
ทฤษฎีของ คาร์ล จี จุง
แบ่งคนเป็น 2 แบบ
1. พวกเก็บตัว (Introver)
2. พวกแสดงตัว (Extrover)
ทฤษฎีของ Kagan และคณะ แบ่งวิธีคิดของมนุษย์เป็น 3 ประเภท
1. คิดแบบวิเคราะห์ Analytical
Style รับรู้สิ่งเร้าในรูปของส่วนย่อยมากกว่าส่วนรวม นำส่วนย่อยมาประกอบเป็นความนึกคิด
2. คิดแบบโยงความสัมพันธ์ Relational
Style พยายามโยงสิ่งต่าง ๆ ให้มาสัมพันธ์กัน
3. แบบจำแนกประเภท Categorical
Style จัดสิ่งเร้าเป็นประเภทตามความรู้หรือประสบการณ์ โดยไม่คำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสิ่งเร้านั้น
ทฤษฎีของ Honey & Mumford แบ่งคนเป็น
4 รูปแบบ ดังนี้
รับรู้ประสบการณ์ใหม่ Pragmatist Activist
นักปฏิบัติ นักกิจกรรม
ประยุกต์สู่การปฏิบัติ พิจารณาไตร่ตรองTheorist Reflector
นักทฤษฎี นักไตร่ตรอง นำไปสร้างเป็นทฤษฎี
- สรุป -
รูปแบบการเรียนรู้ (Learning Style) เป็นบุคลิกของนักศึกษาที่อธิบายว่า
- นักศึกษาเรียนอย่างไรที่จะทำให้เข้าใจเนื้อหาวิชาได้ดีที่สุด
- นักศึกษามีพฤติกรรมเฉพาะบุคคลอย่างไรเก็บตัว
แสดงตัวรอบคอบ หุนหันพลันแล่นตัดสินใจด้วยญาณวิถี ตัดสินใจด้วยเหตุผล
- นักศึกษามีความสามารถในการรับและคงไว้ซึ่งสิ่งที่เรียนอย่างไร
* เป็นยุทธวิธีที่นักศึกษาชอบใช้ในการเรียน
* เป็นลักษณะที่ปรากฏให้เห็นได้ว่า
คนแต่ละคนเรียนรู้ได้ดีที่สุดอย่างไร*
http://www.mbs.mut.ac.th/paper/pdf/32.pdf .19กันยายน 2552
ทฤษฎีการสอนแบบพหุปัญญา
(Multiple Intelligence)
1.ความหมาย
ประวัติความเป็นมาของทฤษฎีการสอนแบบพหุปัญญา
ทิศนา แขมมณี (2545 : 85) ได้กล่าวถึงทฤษฎีการสอนแบบพหุปัญญาว่า
ผู้บุกเบิกทฤษฎีการสอนแบบนี้ คือ ดร.โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard
University) โดยเขาได้เขียนหนังสือเรื่อง “Frames of Mind :
The Theory of Multiple Intelligences” ซึ่งได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง
แนวคิดของเขาก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิดเกี่ยวกับ “เชาวน์ปัญญา”
เป็นอย่างมาก
และกลายเป็นทฤษฎีที่กำลังมีอิทธิพลอย่างกว้างขวางต่อการจัดการศึกษาและการเรียนการสอน
ในปัจจุบัน
ทฤษฎีเชาวน์ปัญญาแบบเดิมนั้น
มักจะเน้นความสามารถในเชิงภาษา คณิตศาสตร์ และความคิดเชิงตรรกะ
ดังจะเห็นได้จากการสอบคัดเลือกทั่วไป ทั้งวิชาวัดแววความเป็นครูในการสอบแอดมิชชั่นเข้ามหาวิทยาลัย
หรือ ข้อสอบบรรจุเข้ารับราชการ มักจะเน้นองค์ประกอบ 3 ด้านนี้เป็นหลัก
และถือว่าเป็นสิ่งกำหนดระดับเชาวน์ปัญญาของบุคคลไปตลอดชีวิต เพราะทฤษฎีเดิมถือว่า
เชาวน์ปัญญาจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดชีวิต แต่การ์ดเนอร์ ได้ให้ความหมายของเชาวน์ปัญญาใหม่ว่า
(Gardner. 1983 อ้างใน ทิศนา แขมมณี. 2545 : 86)
“ความสามารถในการแก้ปัญหาในสภาพแวดล้อมต่างๆ
หรือการ
สร้างสรรค์ผลงานต่างๆ
ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับบริบททางวัฒนธรรมใน
แต่ละแห่ง
รวมทั้งความสามารถในการตั้งปัญหาเพื่อจะหาคำตอบและ
เพิ่มพูนความรู้”
การ์ดเนอร์นั้น
มีความเชื่อพื้นฐานเกี่ยวกับสติปัญญาที่สำคัญ 2 ประการ คือ
1.เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษา
และทางคณิตศาสตร์เท่า นั้น แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน
(ดังจะได้กล่าวต่อไป) แต่การ์ดเนอร์เองก็กล่าวว่าอาจจะมีมากกว่า 8 ประเภท โดยคนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านแตกต่างกันไป
ซึ่งสอดคล้องกับเรื่องของความแตกต่างระหว่างบุคคล ความสามารถที่แตกต่างกันออกไปนี้
เมื่อผสมผสานออกมาแล้วจะก่อให้เกิดเอกลักษณ์เฉพาะตัวบุคคล
2.เชาวน์ปัญญาไม่ใช่สิ่งที่มั่นคงถาวรตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย
หากแต่สามารถเปลี่ยน แปลงได้ตามสภาพแวดล้อม และการส่งเสริมที่เหมาะสม
การ์ดเนอร์เองได้อธิบายถึงเชาวน์ปัญญาไว้ว่า
ประกอบด้วยความสามารถ 3 ประการ
ได้แก่
1.ความสามารถในการแก้ปัญหาในสภาพการณ์ต่างๆ ที่เป็นไปตามธรรมชาติ
และตามบริบททางวัฒนธรรมของแต่ละบุคคล
2.ความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีประสิทธิภาพ
และสัมพันธ์กับบริบททางวัฒนธรรม
3.ความสามารถในการแสวงหาหรือตั้งปัญหาเพื่อหาคำตอบและเพิ่มพูนความรู้
2.องค์ประกอบของทฤษฎีการสอนแบบพหุปัญญา
(เชาวน์ปัญญา 8 ด้าน)
จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า การ์ดเนอร์ ได้เสนอว่าเชาวน์ปัญญาของบุคคลไว้
8 ด้าน โดย พงษ์ศักดิ์ แป้นแก้ว (2546 :
109 – 114) ได้อธิบายไว้อย่างละเอียดดังนี้
2.1 สติปัญญาด้านภาษา (Linguistic
Intelligence)
สติปัญญาด้านภาษา
เป็นความสามารถในการเลือกใช้ถ้อยคำภาษาที่แสดงออกในการสื่อความหมาย โดยมีสมองส่วน Brocals Area ซึ่งเป็นสมองส่วนหน้า
ควบคุมการเรียบเรียงประโยคออกมาเป็นประโยคที่สื่อความตามหลักภาษา
หากสมองส่วนนี้อาจจะทำให้สื่อสารกับผู้อื่นไม่รู้เรื่อง แต่ยังฟังหรืออ่านสิ่งต่างๆ
แล้วเข้าใจได้อยู่
2.2 สติปัญญาในการใช้เหตุผลเชิงตรรกะและคณิตศาสตร์
(Logical–Mathematical Intelligence)
สติปัญญาในด้านการใช้เหตุผลเชิงตรรกะและคณิตศาสตร์
และด้านภาษาที่กล่าวไปข้างต้น มักจะถือว่าเป็นสติปัญญาขั้นทั่วไปของมนุษย์
มักจะวัดผ่านแบบทดสอบต่างๆ
เชาวน์ปัญญาในด้านนี้มีสมองส่วนควบคุมกลไกในการแก้ปัญหาในการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ
และการคำนวณทางคณิตศาสตร์ การ์ดเนอร์กล่าวถึงสติปัญญาในด้านนี้ว่า มีองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ
1. ด้านการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ (mathmatics)
2. ด้านวิทยาศาสตร์ (Science)
3. ด้านการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ (Logic)
2.3 สติปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ
(Bodily – Kinesthetic Intelligence)
สติปัญญาในด้านนี้เป็นความสามารถในการใช้ส่วนของร่างกายเพื่อการแสดงออก
สร้าง สรรค์ หรือสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างคล่องแคล่ว ผู้ที่มีเชาวน์ปัญญาในด้านนี้จะมีสมองส่วนที่เรียกว่า
Cortex โดยสมองส่วนหนึ่งจะเป็นหลักในการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย
อีกด้านหนึ่งไขว้กัน (ขวาควบคุมซ้าย ซ้ายควบคุมขวา)
คนที่ถนัดขวาจะมีการพัฒนาที่ชัดเจนมาตั้งแต่เด็ก
2.4 สติปัญญาด้านการมองเห็นและมิติสัมพันธ์
(Visual/Spatial Intelligence)
เชาวน์ปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองซีกขวา
และแสดงออกทางความสามารถด้านศิลปะ การวาดภาพ การสร้างภาพ การคิดเป็นภาพ
การเห็นรายละเอียด การใช้สี การสร้างสรรค์งานต่าง ๆ
และมักจะเป็นผู้มองเห็นวิธีแก้ปัญหาในมโนภาพ เชาวน์ปัญญาในด้านนี้เป็นเชาวน์ปัญญาที่มนุษย์มีมาแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์
เพราะมนุษย์วาดภาพเพื่อสื่อสารความหมายมาตั้งแต่สมัยนั้น
2.5 สติปัญญาด้านดนตรี (Musical
Intelligence)
เชาวน์ปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองซีกขวาตอนบน
บุคคลที่มีสติปัญญาทางด้านนี้ จะแสดงออกทางความสามารถในด้านจังหวะ การร้องเพลง
การฟังเพลงและดนตรี การแต่งเพลง การเต้น
และมีความไวต่อการรับรู้เสียงและจังหวะต่างๆ
โดยที่บางครั้งอาจดูเหมือนไม่มีความสามารถ เช่น เล่นเปียโนได้
แต่ไม่สามารถเล่นเครื่องดนตรีอื่นๆ ได้ หรือ บางครั้งในการเรียนทฤษฎีดนตรี
อาจจะสอบตก แต่ร้องเพลงได้ไพเราะ เป็นต้น
2.6 สติปัญญาด้านการเข้ากับผู้อื่น
(Interpersonal Intelligence)
เชาว์ปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองส่วนหน้า
หากสมองด้านนี้ถูกทำลายจะทำให้เกิดปัญหาในการเข้าสังคม
ความสามารถที่แสดงออกทางด้านนี้ เห็นได้จากการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
การทำงานกับผู้อื่น การเข้าใจและเคารพผู้อื่น การแก้ปัญหาความขัดแย้ง
และการจัดระเบียบ ผู้มีความสามารถทางด้านนี้
มักเป็นผู้ที่มีความไวต่อความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น
2.7 สติปัญญาด้านการรู้จักและเข้าใจตนเอง
(Intrapersonal Intelligence)
บุคคลที่สามารถในการเข้าใจตนเอง
มักเป็นคนที่ชอบคิด พิจารณาไตร่ตรอง มองตนเอง
และทำความเข้าใจถึงความรู้สึกและพฤติกรรมของตนเอง
มักเป็นคนที่มั่นคงในความคิดความเชื่อต่าง ๆ
จะทำอะไรมักต้องการเวลาในการคิดไตร่ตรอง และชอบที่จะคิดคนเดียว ชอบความเงียบสงบ
สติปัญญาทางด้านนี้ มักเกิดร่วมกับสติปัญญาด้านอื่น มีลักษณะเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างเชาว์ปัญญา
อย่างน้อย 2 ด้านขึ้นไป
ผู้ที่ไม่มีสติปัญญาในด้านนี้ มักจะมีบุคลิกเฉื่อยชา เชื่องช้า
ไม่ยินดียินร้ายและเศร้าซึม
2.8 สติปัญญาด้านการเป็นนักธรรมชาติวิทยา
(Nationalism Intelligence)
เชาวน์ปัญญาในด้านนี้ การ์ดเนอร์ได้เพิ่มหลังจากที่ตีพิมพ์หนังสือ
“Frames of Mind : The Theory of Multiple Intelligences” แล้ว
แต่ก็ได้กล่าวถึงลักษณะของเชาวน์ปัญญาเหล่านี้ในภายหลังว่า
เชาวน์ปัญญาด้านนี้เป็นความสามารถในการสังเกตสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
การจำแนกแยกแยะ จัดหมวดหมู่ สิ่งต่าง ๆ รอบตัว บุคคลที่มีความสามารถทางนี้
มักเป็นผู้รักธรรมชาติ เข้าใจธรรมชาติ ตระหนักในความสำคัญของสิ่งแวดล้อมรอบตัว
และมักจะชอบและสนใจสัตว์ ชอบเลี้ยงสัตว์เลี้ยง เป็นต้น
ตัวอย่างกิจกรรม
activity
Cow and Bullfrog
activity
Computer-assisted language learning (CALL)
ผ่าน บาลโพธิ์ (2539) อธิบายลักษณะของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยเรียนภาษา
หรือ CALL (Computer-assisted language learning program) ไว้ว่า
โปรแกรมช่วยเรียนภาษาเป็นชุดคำสั่งที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอนภาษามีลักษณะเหมือนกับโปรแกรมช่วยการสอน
หรือ CAI คือ มีการเสนอเนื้อหาหรือเนื้อเรื่อง
มีการถามการตอบ มีการแนะนำและอธิบายแต่จะกว้างกว่า CALL เพราะ CAI บอกให้ทราบว่าเป็นโปรแกรมช่วยการสอนเท่านั้น
ส่วนจะสอนวิชาใดบ้างก็แล้วแต่ผู้สร้างโปรแกรม
CALL หมายถึงโปรแกรมช่วยเรียนภาษาโดยเฉพาะใช้ได้ทั้งกับการเรียนในห้องเรียน โดยมีผู้สอนเป็นผู้ควบคุมดูแลกระบวนการเรียน
และการให้ผู้เรียนเรียนจากโปรแกรมด้วยตนเองที่ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-access
learning center) หรือที่ศูนย์คอมพิวเตอร์และสำหรับสถานศึกษาทีมีความพร้อมก็อาจ
มอบแผ่นโปรแกรมให้ผู้เรียนนำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์นอกสถานศึกษาโดยผ่านโมเด็มและสายโทรศัพท์
การสอนแบบบูรณาการ
(Content and Language Integrated Learning : CLIL)
เทคนิคการสอนแบบบูรณาการ เป็นการนำสาระการเรียนรู้ในวิชาที่สอนไปบูรณาการกับวิชาอื่นๆ
บูรณาการ หมายถึงการทำให้สมบูรณ์ ซึ่งอาจจะขยายความเพิ่มเติมได้อีกว่าหมายถึงการทำให้หน่วยย่อย ๆ ที่สัมพันธ์อิงอาศัยกันเข้ามาร่วมทำหน้าที่อย่างประสานกลมกลืนเป็นองค์รวมหนึ่งเดียว ที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์ในตัวเอง ( พระเทพเวที 2531 : 24 )
บูรณาการ หมายถึงการนำเอาศาสตร์สาขาวิชาต่าง ๆที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันมาผสมผสานเข้าด้วยกัน เพื่อประโยชน์ในการจัดหลักสูตรแบบบูรณาการ ( Integrated Curriculum ) คือหลักสูตรที่นำเอาเนื้อหาของวิชาต่าง ๆ มาหลอมรวมเข้าด้วยกันทำให้เอกลักษณ์ของแต่ละรายวิชาหมดไป เช่นเดียวกัน การเรียนการสอนที่ดำเนินการด้วยวิธีบูรณาการเราเรียกว่า การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ( Integrated Instruction ) คือเน้นที่องค์รวมของเนื้อหามากกว่าองค์ความรู้ของแต่ละรายวิชา และเน้นที่การเรียนของผู้เรียนเป็นสำคัญยิ่งกว่าการบอกเนื้อหาของครู
( สุวิทย์ มูลคำ และคณะ : 2543 )
การจัดการเรียนการสอนแบบหน่วยเป็นการบูรณาการหลักสูตรประเภทหนึ่งที่เรียกว่า
สหวิทยาการ ( Interdisciplinary ) วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบหน่วยมีคุณลักษณะสำคัญคือการตั้งหัวเรื่องที่น่าสนใจขึ้นมา แล้วนำความรู้จากวิชาการต่าง ๆ มาโยงสัมพันธ์กับหัวเรื่องนั้นเพื่อประโยชน์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ความแตกต่างที่สำคัญที่จำแนกการจัดการเรียนการสอนออกจากหลักสูตรก็คือ การเรียนการสอนเน้นบูรณาการที่ระดับเนื้อหาวิชาเฉพาะส่วนที่เกี่ยวพันกัน แต่หลักสูตรเน้นบูรณาการที่รายวิชาโดยตรงก่อนที่จะไปแยกกำหนดเป็นเรื่องที่จะจัดการเรียนการสอนต่อไป
วัฒนา ระงับทุกข์ ได้ให้ความหมายของบูรณาการว่า “ การนำศาสตร์ต่างๆมาผสมผสานกันเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง”
ชนาธิป พรกุล ได้ให้ความหมายของบูรณาการว่า “ การเชื่อมโยงความรู้และประสบการณ์ทุกชนิด ที่บรรจุอยู่ในแผนของหลักสูตร เป็นการเชื่อมโยงแนวนอนระหว่างหัวข้อและเนื้อหาต่างๆที่เป็นความรู้ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ พุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และจิตพิสัย การบูรณาการทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และรู้ในเรื่องนั้นอย่างลึกซึ้ง การบูรณาการความรู้เป็นสิ่งจำเป็นโดยเฉพาะในยุคที่มีความรู้ ข้อมูลข่าวสารมาก จึงเกิดเป็นหลักสูตรที่เรียกว่า หลักสูตรบูรณาการ (Integrated curricula) ซึ่งพยายามสร้างหัวเรื่อง (Themes) ใน โปรแกรมวิชาโดยนำความคิดหลักในวิชามาสัมพันธ์กัน และสัมพันธ์กับวิชาอื่นด้วย”
หลักสูตรแบบบูรณาการ (Integrated Curricula) เป็น หลักสูตรที่นำเอาศาสตร์สาขาวิชาต่างๆที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันมาผสมผสานเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์สูงสุดในการจัดหลักสูตรและจัดการเรียน ทำให้เอกลักษณ์ของแต่ละรายวิชาหมดไป เกิดเป็นเอกลักษณ์ใหม่ของหลักสูตรโดยรวม ทำให้เกิดความรู้ที่มีความหมาย มีความหลากหลายและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
การเรียนการสอนแบบบูรณาการ (Integrated Instruction) เน้นที่องค์รวมของเนื้อหามากกว่าองค์ความรู้ของแต่ละรายวิชาและเน้นที่การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญยิ่งกว่าการบอกเนื้อหาของครู
ลักษณะสำคัญของการบูรณาการ
ผลการจัดหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ถ้าสามารถดำเนินได้อย่างสมบูรณ์แล้วก็ควรจะมีลักษณะโดยรวมดังต่อไปนี้ (ธำรง บัวศรี : 2532 )
1. เป็นการบูรณาการระหว่างความรู้และกระบวนการเรียนรู้ เพราะในปัจจุบันนี้ปริมาณของความรู้มีมากขึ้นเป็นทวีคูณ รวมทั้งมีความสลับซับซ้อนมากขึ้นเป็นลำดับ การเรียนการสอนด้วยวิธีการเดิม อาทิ การบอกเล่า การบรรยายและการท่องจำ อาจจะไม่เพียงพอที่จะก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพได้ ผู้เรียนควรจะเป็นผู้สำรวจความสนใจของตนเองว่าในองค์ความรู้หลายหลากนั้น อะไรคือสิ่งที่ตนเองสนใจอย่างแท้จริง ตนควรแสวงหาความรู้เพื่อตอบสนองความสนใจเหล่านั้นได้อย่างไร เพียงใด ด้วยกระบวนการเช่นไร ซึ่งแน่นอนว่า กระบวนการเรียนการสอนลักษณะนี้ย่อมขึ้นอยู่กับความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Differences)ไม่ใช่น้อย
2. เป็นการบูรณาการระหว่างพัฒนาการความรู้และพัฒนาการทางจิตใจ นั่นคือให้ความสำคัญแก่ จิตพิสัย คือเจตคติ ค่านิยม ความสนใจ และสุนทรียภาพ แก่ผู้เรียนในการแสวงหาความรู้ด้วย ไม่ใช่เน้นแต่เพียงองค์ความรู้หรือพุทธิพิสัยแต่เพียงอย่างเดียว อันที่จริงการทำให้ผู้เรียนเกิดความซาบซึ้งขึ้นเสียก่อนที่จะได้ลงมือศึกษานั้น นับได้ว่าเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญยิ่งสำหรับจูงใจให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นทั้งแก่ผู้สอนและผู้เรียน
3. บูรณาการระหว่างความรู้และการกระทำในข้อนี้ก็มีนัยแห่งความสำคัญและความสัมพันธ์เช่นเดียวกับที่ได้กล่าวไว้แล้วในข้อสอง เพียงแต่เปลี่ยน จิตพิสัยเป็นทักษะพิสัยเท่านั้น
4. บูรณาการระหว่างสิ่งที่เรียนในโรงเรียนกับสิ่งที่เป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้เรียน คือ การตระหนักถึงความสำคัญแห่งคุณภาพชีวิตของผู้เรียนว่าเมื่อได้ผ่านกระบวนการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว สิ่งที่เรียนที่สอนในห้องเรียนจะต้องมีความหมายและมีคุณค่าต่อชีวิตของผู้เรียนอย่างแท้จริง
5. บูรณาการระหว่างวิชาต่างๆ เพื่อให้เกิด ความรู้ เจตคติและการกระทำที่เหมาะสมกับความต้องการและความสนใจของผู้เรียนอย่างแท้จริง ตอบสนองต่อคุณค่าในการดำรงชีวิตของผู้เรียนแต่ละคน การบูรณาการความรู้ของวิชาต่างๆเข้าด้วยกันเพื่อตอบสนองความต้องการหรือเพื่อตอบปัญหาที่ผู้เรียนสนใจจึงเป็นขั้นตอนสำคัญที่ควรจะกระทำในขั้นตอนของบูรณาการหลักสูตรและการเรียนการสอนเป็นอย่างยิ่ง
ทำไมต้องบูรณาการหลักสูตรและการเรียนการสอน
เหตุผลสนับสนุนการบูรณาการ
1. การขยายตัวของความรู้ มีเรื่องที่จำเป็นต้องเพิ่มเข้ามาในหลักสูตรมากมาย เช่น เอดส์
เพศศึกษา สิ่งแวดล้อม จึงจำเป็นต้องหาทางเลือกสาระให้ผู้เรียนเรียนในเวลาที่เท่าเดิม
2. หลักสูตรปัจจุบันไม่เหมือนชีวิตจริงเพราะเรียนเป็นช่วง โรงเรียนต้องแสดงให้เห็นว่าแต่ละวิชาอิทธิพลต่อผู้เรียนอย่างไร เขาควรต้องเห็นความสำคัญของทุกวิชาที่ถูกจัดเชื่อมโยงกันไว้
3. ปัจจุบันเราไม่อาจฝึกคนให้เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะไม่ได้ จะต้องฝึกให้ผู้เรียนสามารถบูรณาการสิ่งที่เรียนกับชีวิตในโลกกว้างได้ (Jacobs, 1989 : 3-4)
นอกจากนี้ยังมีเหตุผลสนับสนุนการบูรณาการอย่างน้อยอีก 2 ประการคือ
1. ไม่มีหลักสูตรวิชาใดเพียงวิชาเดียวที่สำเร็จรูปและสามารถนำไปแก้ปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง
2. วิชาการหรือแนวคิดต่างๆที่ใกล้เคียงกันหรือเกี่ยวข้องกันควรนำมาเชื่อมโยงกันเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่มีความหมาย (เพราพรรณ โกมลมาลย์ , 2541 : 66)
เนื่องจากวิถีชีวิตจริงของคนเรามีเรื่องราวต่าง ๆ ที่มีความหมายสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ไม่ได้
แยกออกจากกันเป็นเรื่อง ๆ ดังนั้น (สุวิทย์ มูลคำ และคณะ : 2543 )
1. ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้ดีขึ้นและเรียนรู้อย่างมีความหมายเมื่อมีการบูรณาการเข้ากับชีวิตจริง
โดยการเรียนรู้ในสิ่งที่ใกล้ตัวแล้วขยายกว้างไกลตัวออกไป
2. การขยายตัวของความรู้ในปัจจุบัน ขยายไปอย่างรวดเร็วมากมีเรื่องใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นมากมาย จึงจำเป็นที่จะต้องเลือกสาระที่สำคัญและจำเป็นให้ผู้เรียนในเวลาที่มีเท่าเดิม
3. ไม่มีหลักสูตรวิชาใดเพียงวิชาเดียวที่สำเร็จรูป และสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงได้
4. เนื้อหาวิชาต่าง ๆ ที่ใกล้เคียงกันหรือเกี่ยวข้องกันควรนำมาเชื่อมโยงกันเพื่อให้ผู้เรียนรู้อย่างมีความหมาย ลดความซ้ำซ้อนเชิงเนื้อหาวิชา ลดเวลา แบ่งเบาภาระของครูผู้สอน
5. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ความรู้ ความคิด ความสามารถและทักษะที่หลากหลาย
ประเภทของการบูรณาการหลักสูตรและการเรียนการสอน
เราสามารถบูรณาการหลักสูตรและการเรียนการสอนได้เป็นสองแบบ ( สุวิทย์ มูลคำ อ้างถึง UNESCO – UNEP, 1994 : 51 )
1. การบูรณาการแบบสหวิทยาการ ( Interdisciplinary )
เป็นการสร้างหัวเรื่อง ( Theme) ขึ้นมาแล้วนำเนื้อหาจากวิชาต่าง ๆ มาโยงสัมพันธ์กับหัวเรื่องนั้น ซึ่งบางครั้งก็อาจเรียกวิธีบูรณาการแบบนี้ได้ว่า สหวิทยาการแบบมีหัวข้อ ( Themetic Interdisciplinary Studies) หรือบูรณาการที่เน้นการนำไปใช้เป็นหลัก ( Application – First Approach )
การกำหนดหัวเรื่อง ( Theme ) ได้แก่ การสร้างหัวเรื่องโดยมีหลักในการกำหนดหัวเรื่องดังนี้
1. เป็นเรื่องที่ผู้เรียนสนใจ และมีโอกาสได้เลือกเรียน
2. เป็นเรื่องที่สามารถโยงความสัมพันธ์ได้หลายวิชาหรือหลายกลุ่มประสบการณ์
3. เป็นเรื่องที่นักเรียนมีประสบการณ์เดิมอยู่แล้วและสอดคล้องกับชีวิตจริง และมีความหมายต่อผู้เรียน
4. เป็นเรื่องที่มีแหล่งความรู้ให้ผู้เรียนรู้ได้ศึกษาค้นคิดอย่างหลากหลาย และเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับท้องถิ่นกับความรู้ที่เป็นสากล
5. เป็นเรื่องที่เหมาะสมกับระดับความสามารถของผู้เรียนและส่งเสริมการพัฒนาผู้เรียนรอบด้าน การตั้งชื่อต้องทันสมัย และน่าสนใจยั่วยุให้ผู้เรียนอยากรู้ อยากเรียน
2. การบูรณาการแบบพหุวิทยาการ ( Multidisciplinary )
เป็นการนำเรื่องที่ต้องการจะให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สอดแทรก ( Infusion ) ไว้ในวิชาต่าง ๆ หรือบูรณาการเน้นเนื้อหาของวิชาเป็นแกนแล้วนำสิ่งที่ต้องการให้เกิดแก่ผู้เรียนเกิดไปสอดแทรกในวิชาแกนดังกล่าวซึ่งบางครั้งเราก็อาจจะเรียกวิธีบูรณาการแบบนี้ได้ว่า การบูรณาการที่เน้นเนื้อหารายวิชาเป็นหลัก ( Discipline First Approach )
กรมวิชาการได้แบ่งการบูรณาการหลักสูตรและการสอนเป็น 4 แบบดังนี้
1. การบูรณาการแบบผู้สอนคนเดียว
ครูสอนสามารถจัดการเรียนรู้โดยเชื่อมโยงสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ กับหัวเรื่องที่สอดคล้องกับชีวิตจริง หรือสาระที่กำหนดขึ้นมา เช่น เรื่องสิ่งแวดล้อม น้ำ เป็นต้น ครูผู้สอนสามารถเชื่อมโยงสาระ และกระบวนการเรียนรู้ของกลุ่มสาระต่าง ๆเช่น การอ่าน การเขียน การคิด คำนวณ การคิดวิเคราะห์ต่าง ๆ ทำให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะ และกระบวนการเรียนรู้ไปแสวงหาความรู้ ความจริงจากหัวข้อเรื่องที่กำหนด
2. การบูรณาการแบบคู่ขนาน
มีครูผู้สอนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป จัดการสอนโดยอาจยึดหัวข้อเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แล้วบูรณาการเชื่อมโยงแบบคู่ขนาน เช่น ครูผู้สอนคนหนึ่งสอนวิทยาศาสตร์เรื่องเงา ครูผู้สอนอีกคนอาจสอนคณิตศาสตร์เรื่องการวัดระยะทาง โดยการวัดเงา คิดคำนวณในเรื่องเงา ในช่วงเวลาต่าง ๆ จัดการทำกราฟของเงาในระยะต่าง ๆ หรืออีกคนหนึ่งอาจให้ ผู้เรียนรู้ศิลปะ เรื่องเทคนิค การวาดรูปที่มีเงา
3. การบูรณาการแบบสหวิทยาการ
การบูรณาการในลักษณะนี้นำเนื้อหาจากหลายกลุ่มสาระมาเชื่อมโยงเพื่อจัดการเรียนรู้ซึ่งโดยทั่วไปผู้สอนมักจัดการเรียนการสอนแยกตามรายวิชา หรือกลุ่มวิชา แต่ในบางเรื่องครูผู้สอน จัดการเรียนการสอนร่วมกันในเรื่องเดียวกัน เช่น เรื่องวันสิ่งแวดล้อมของชาติ ครูผู้สอนวิชาภาษาไทยจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนรู้ภาษาคำศัพท์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ผู้สอนวิทยาศาสตร์จัดกิจกรรมค้นคว้าเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ผู้สอนสังคมศึกษาให้ผู้เรียนค้นคว้าหรือทำกิจกรรมชมรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และครูผู้สอนสุขศึกษาอาจจัดทำกิจกรรมเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะเป็นต้น
4. การบูรณาการแบบโครงการ
ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนการสอนโดยบูรณาการเป็นโครงการโดยผู้เรียนและครูผู้สอน ร่วมกันสร้างสรรค์โครงการขึ้น โดยใช้เวลาการเรียนต่อเนื่องกันในหลายชั่วโมงด้วยการนำเอาจำนวนชั่วโมงของวิชาต่าง ๆ ที่ครูผู้สอนเคยสอนแยกกัน ในลักษณะของการสอนเป็นทีม ในกรณีที่ต้องการเน้นทักษะบางเรื่องเป็นพิเศษครูผู้สอนสามารถแยกการสอนได้ เช่น กิจกรรมเข้าค่ายดนตรี กิจกรรมเข้าค่ายภาษาอังกฤษ กิจกรรมเข้าค่ายศิลปะ เป็นต้น